วิธีการเลี้ยงหมูหลุมและโรคหมู

 

ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงหมูหลุม
1. การสร้างโรงเรือน
- เลือกสถานที่น้ำไม่ท่วมขัง
- วัสดุการก่อสร้างหาง่าย
- อากาศถ่ายเทสะดวก

2. การขุดหลุม
- ลึก 90 เซนติเมตร กว้างและยาวแล้วแต่จำนวนหมู โดยพื้นที่ต่อตัว ประมาณ 1 - 1.5 ตารางเมตร
- ก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้านและให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร ไม่ต้องเทพื้น

3. วัสดุที่ใช้ (สำหรับคอกขนาด 20 ตารางเมตร)
- แกลบดิบ จำนวน 4,300 กิโลกรัม
- มูลวัว จำนวน 320 กิโลกรัม
- รำอ่อน จำนวน 185 กิโลกรัม
- น้ำหมักจุลินทรีย์ จำนวน 185 กิโลกรัม


ขั้นตอน
นำวัสดุรองคอกมาแบ่งเป็น 3 ส่วนถมหลุมให้เต็มโดยแบ่งเป็น 3 ชั้นๆ ละ 30 เซนติเมตร แต่ละชั้นใส่แกลบดิบ มูลวัว รำอ่อน แล้วรดด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ ในอัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ10 ลิตร จากนั้นเมื่อการเลี้ยงผ่านไปจึงคอย เติมวัสดุให้เต็มเสนมอ โดยใช้ส่วนผสมเดียวกัน

 

วิธีการเลี้ยง

การนำหมูเข้าเลี้ยงควรเป็นหมู่ที่หย่านมแล้ว น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม โดยเตรียมคอกและอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม คัดหมูที่ขนาดใกล้เคียงกัน ไว้ด้วยกันเพื่อ ป้องกันการรังแกกันในวันแรกที่นำหมูลงเลี้ยงไม่ต้องให้อาหารเพื่อ ป้องกัน ความเครียด แต่ควรให้ดื่มน้ำ ตัวอย่างอาหารและปริมาณการให้อาหาร แสดงในตาราง

 

น้ำหนักหมู(กิโลกรัม)
ชนิดอาหาร
ปริมาณ (กก/ตัว/วัน)
12-20
อาหารสำเร็จรูป
1.0-1.5
20-35
รำ+ปลายข้าว
1.7-2.0
35-60
รำ-ปลายข้าว
2.5-3.0
60-100
รำ+ปลายข้าว
3.5-4.0

ขั้นตอนการเตรียม อาหาร และน้ำดื่ม สำหรับสุกร
1. น้ำดื่มสำหรับหมูหลุม
สำหรับ น้ำ 1 ถัง ( 20 ลิตร) ส่วนผสมน้ำดื่มให้สุกร
1. หัวเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำฮอร์โมน สมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ (เหล้าดองยา)
3. นมเปรี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำหมักแคลเซียม 2 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำสะอาด 20 ลิตร
ผสมให้ดื่มเป็นประจำทุกวัน หากพื้นคอกสุกรแน่น หรือแข็ง ก็ใช้น้ำดังกล่าวราดบนพื้นคอก
จะทำให้เกิดกลิ่นหอม จูงใจให้สุกรขุดคุ้ยเป็นการกลับหน้าดิน ช่วยให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท เกิดจุลินทรีย์มากมาย

อาหารที่ให้
ใช้พืชผักสีเขียว เป็นอาหารเสริม อาหารหมัก ใช้ผักสีเขียว หยวกกล้วย มะละกอดิบ ใบบอน วัชพืชต่างๆ ที่หมูชอบ สับผักเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทรายแดง โดยหมักในอัตราส่วน 100 : 4 : 1 คือ ใช้พืช 100กิโลกรม : น้ำตาล 4 กิโลกรม : เกลือ 1 กิโลกรัม นำไปเลี้ยงสุกรโดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยง

การเตรียมหลุม และพื้นคอกหมูหลุม
อาหารและการให้อาหาร
- ถังน้ำ และรางอาหาร ควรตั้งไว้คนละด้าน เพื่อหมูจะเดินไปมาเป็นการออกกำลังกาย
การเริ่มต้นเลี้ยงสุกร เมื่อหย่านม จะเป็นการดีที่ฝึกวิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติ การให้อาหารให้เพียงวันละ 1 ครั้ง (ปรับตามความเหมาะสม)


พื้นคอก
การเตรียมคอก
ขุดดินออกไปทั้งหมด ให้ลึกประมาณ 90 เซนติเมตร ปรับขอบรอบๆ แล้วผสมวัสดุเหล่านี้ ใส่แทนดินที่ขุดออกไป วัสดุที่ใช้ได้แก่
- ขี้เลื่อย หรือ แกลบหยาบ 100 ส่วน
- ดินที่ขุดออก 10 ส่วน
- เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน

นำวัสดุเหล่านี้ คลุกเคล้าผสมกัน ลงไป 30 เซนติเมตร ใช้จุลินทรีย์ที่ได้จากการหมักพืช จุลินทรีย์เชื้อราขาวจากป่าไผ่ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร ราดลงบนวัสดุรองพื้น โรยดินชีวภาพเชื้อราขาวบางๆ ชั้นที่ 2 และ 3 ทำเหมือนชั้นแรก ชั้นสุดท้ายโรยแกลบดิบ ปิดหน้า หนึ่งฝามือ

ลักษณะของโรงเรือน
1. ตั้งอยู่บนที่สูง ที่ดอน
2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศทางของตะวันออก – ตะวันตก
3. วัสดุมุงหลังคาควรเป็นกระเบื้อง หรือ คา
4. หลังคาสูง – เอน เช่น
- เพิงหมาแหงน
- เพิงหมาเหงนกลาย
- แบบจั่ว
- จั่ว 2 ชั้น
- จั่ว 2 ชั้นกลาย

สุกร 10 ตัว จะใช้พื้นที่ในการเลี้ยงขนาดความกว้าง 3 เมตร x ความยาว 6 เมตร หลังคายกสูงให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

 

 

 

 

โรคสุกร

โรค PRRS ติดต่อในสุกร

เป็นโรคที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการของโรคในระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจในสุกรที่เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูลArteriviridaeเชื้อไวรัสสามารถขับออกมาจากร่างกายของสุกรป่วยทางอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ และน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถติดต่อหรือแพร่ไปยังสุกรตัวอื่นๆ ได้โดยการกินหรือการสัมผัสโดยตรง เช่น การดม การเลีย หรือการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ ยังสามารถติดต่อทางระบบทางเดินหายใจหรือผ่านวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ภายในฟาร์มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
อาการ

โดยลำพังเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์เอส เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สุกรแสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ มาประกอบกัน จึงทำให้แสดงอาการของโรคได้ อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์ความสะอาดในฟาร์ม การถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือน และสุขภาพของสุกรในฝูง เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส ครั้งแรกในฝูงเชื้อจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วสุกรจะมีไข้สูงนอนสุมกันตัวแดงไม่กินอาหาร สุกรพันธุ์จะแท้งมีลูกตายแรกคลอด หรืออ่อนแอ อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือท้องเสียขึ้นอยู่กับภาวะโรคที่แทรกซ้อน เชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดในฟาร์มนี้จะกระตุ้นให้สุกรส่วนใหญ่สร้างภูมิคุ้มกัน หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้าๆ การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่สร้างภูมิคุ้มกัน หลังจากนั้น เชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้าๆ การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะแอบแฝง เช่น ผลผลิตต่ำ หรือ มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากแบคทีเรีย หรือไวรัสตัวอื่นๆ ซึ่งปัญหาที่พบหลังจากที่ผ่านการระบาดครั้งแรกมาคือ ปัญหาระบบทางเดินหายใจในสุกรหย่านม เนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับถ่ายทอดจากแม่ลดลง
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคโดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคต่อเชื้อพี อาร์ อาร์ เอส และการตรวจแยกพิสูจน์เชื้อ โดยการเก็บตัวอย่างซีรั่มจากแม่สุกรที่แท้งลูก สุกรที่แท้งหรือตายแรกคลอด ซีรั่มของลูกสุกรป่วยหรืออวัยวะ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ทอนซิล ม้าม ปอด หรือส่งทั้งตัว โดยแช่เย็นในกระติกน้ำแข็ง และนำส่งทันที ถ้าไม่สามารถส่งตรวจได้ในวันนั้นให้เก็บแช่ช่องแข็งและควรส่งตรวจภายใน 3 วัน โดยส่งตรวจได้ที่ห้องปฏิบัติการที่รับผิดชอบพื้นที่

การติดต่อ
เชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากร่างกายของสุกรป่วย ทางอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ และน้ำเชื้อ และติดต่อไปยังสุกรตัวอื่นโดยการกิน หรือการสัมผัสโดยตรง เช่น การดม การเลีย หรือการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่านอากาศที่หายใจ หรือผ่านวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ ภายในฟาร์มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
เชื้อไวรัสสามารถแพร่ระบาดจากฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งได้โดยการเคลื่อนย้ายสุกรป่วย หรือสุกรที่เป็นพาหะของโรคเข้ามารวมฝูง โดยทั่วไปพบว่าเชื้อไวรัสที่ ถูกขับออกจากร่างกายสุกรป่วย สามารถแพร่กระจายจากจุดเกิดโรคไปในอากาศได้ไกลถึงรัศมี ๓ กิโลเมตร และหากมีองค์ประกอบของแรงลมเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจทำให้โรคแพร่ กระจายได้ไกลขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าโรคสามารถแพร่ระบาดผ่านทางน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ ไปยังฟาร์มอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะการผสมเทียม หรือแพร่เชื้อ ผ่านวัสดุ อุปกรณ์ หรือยานพาหนะ ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส รวมทั้งนก หนู หรือบุคลากรจากฟาร์มหนึ่งไปอีกฟาร์มหนึ่ง ส่วนการแพร่เชื้อไวรัสผ่านเนื้อสุกรหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรยังไม่เป็นที่ชัดเจน
การรักษา
เนื่องจากโรคพี อาร์ อาร์ เอส มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสจึงยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ การรักษาสุกรที่ป่วยโรคนี้ จึงเป็นการรักษาตามอาการป่วย และการบำรุงร่างกายสัตว์ป่วย เช่น การให้สารเกลือแร่ วิตามิน การเปลี่ยนสูตรอาหารที่ให้พลังงานสูง และให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งอาจให้โดยการฉีดผสมน้ำ หรือผสมอาหาร

การป้องกันโรค

1. สุกรที่จะนำเข้ามาทดแทนในฝูง ควรมาจากแหล่งที่ปลอดเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส
2. ก่อนจะนำสุกรใหม่เข้ามารวมฝูง ควรทำการกักกันอย่างน้อย 2 ขั้นตอน คือ กักที่ต้นทางก่อนการเคลื่อนย้าย และกักที่ปลายทางก่อนนำเข้ารวมฝูง ซึ่งระหว่างที่กักควรสุ่มตรวจหาโรคโดยวิธีทางซีรั่มวิทยาด้วย
3. จำกัดและควบคุมการเข้าออกฟาร์ม โดยอาจให้มีการเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม
4. ไม่ให้รถขนอาหารเข้าไปในสถานที่เลี้ยงสุกร
5. ไม่เข้าไปดูหรือสัมผัสกับสุกรฝูงที่แสดงอาการป่วย
6. ปัจจุบันวัคซีนสำหรับป้องกันโรคพี อาร์ อาร์ เอส ที่มีอยู่ ยังมีข้อจำกัดในการใช้อยู่หลายประการซึ่งเกษตรกรควรคำนึงถึง ดังนี้
6.1 ราคาแพง ดังนั้นควรคำนึงถึงความคุ้มทุนโดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำวัคซีน เพราะโรคนี้หากมีการจัดการที่ดีจะไม่ทำให้เกิดอาการที่รุนแรง
6.2 ชนิดของเชื้อที่นำมาทำวัคซีน หากไม่ใช่เชื้อชนิดเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับชนิดที่ทำให้เกิดโรคในฟาร์มจะให้ภูมิคุ้มกันโรคที่ไม่ดี
6.3 ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นและตรวจพบจากซีรั่มไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ
6.4 วัคซีนที่ผลิตจากเนื้อเยื่อที่ไม่บริสุทธิ์ อาจนำโรคอื่นๆ ติดมาถึงสุกรได้
6.5 การใช้วัคซีนเป็นเชื้อไวรัสสามารถผ่านออกมาทางน้ำเชื้อได้เป็นเวลานาน และอาจมีผลให้ตัวอสุจิมีรูปร่างผิดปกติและเคลื่อนไหวช้าลง นอกจากนี้ในสุกรอุ้มท้อง อาจผ่านรกไปถึงลูกอ่อนทำให้เกิดการติดเชื้อในลูกอ่อนได้

 

 

หน้าหลัก สายพันธ์ของสุกร

บรรณานุกรม

 

Free Web Hosting